ช่วยกันไถ่ชีวิตช้างเชือก นี้ พังยายคำแพง

by Unchained Elephants

  • ฿990,000.00

    Funding Goal
  • ฿0.00

    Funds Raised
  • 0

    Days to go
  • Target Goal

    Campaign End Method
Raised Percent :
0%
Minimum amount is ฿ Maximum amount is ฿ Put a valid number
฿
Pattaya, ไทย

Unchained Elephants

1 Campaigns | 0 Loved campaigns

See full bio

Campaign Story

รวมพลังกับ

สิทธิพิเศษแทนคำขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพังยายคำแพง  

🐘 ผู้สนับสนุนทุกท่านที่บริจาค: รับสิทธิสมาชิก Travel Club สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ฟรี 3 ปี จาก www.discoveringphuket.com ผ่านทาง Digital Art / NFT ของเรา เกียรติบัตรไถ่ชีวิตช้าง พังยายคำแพง รวมทั้งส่วนลด 10% สำหรับโปรแกรมของ Somboon Legacy Foundation

💚 บริจาค 6,000 บาท: ทัวร์ครึ่งวันสำหรับ 1 ท่าน เพื่อเข้าชมมูลนิธิสมบูรณ์เลกาซี่ และพังยายคำแพง

🐘 บริจาค 10,000 บาท: ทัวร์ครึ่งวันสำหรับ 2 ท่าน เพื่อเข้าชมมูลนิธิสมบูรณ์เลกาซี่ และพังยายคำแพง

ร่วมกันไถ่ชีวิตช้าง พังยายคำแพง จากความทุกข์ทรมาน

ร่วมกันไถ่ชีวิตช้าง พังยายคำแพง จากความทุกข์ทรมาน

เข้าร่วมภารกิจไถ่ชีวิตช้าง พังยายคำแพง ไปกับเรา โดยบริจาคเงินผ่านทางโครงการระดมทุนไถ่ชีวิตพังยายคำแพง รายได้จากการบริจาค 100% จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการไถ่ชีวิตและดูแลสุขภาพของพังยายคำแพง เงินทุกบาททุกสตางค์ของคุณ สามารถพลิกชีวิตพังยายคำแพงและเปลี่ยนแปลงอนาคตของช้างไทยได้อีกหลายเชือก 

ดูวิดีโอเกี่ยวกับพังยายคำแพง และเรื่องราวของช้างเชือกนี้ รวมทั้งความคืบหน้าของการไถ่ชีวิตยายคำแพงได้ที่ https://www.instagram.com/unchainedelephants/

พังยายคำแพง ภาพสะท้อนช้างไทยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

พังยายคำแพง ช้างเพศเมีย วัย 54 ปี ต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกล่ามโซ่หนักๆ ทั้งขาหน้าและขาหลัง สูญเสียฟันเกือบหมด ขาดสารอาหารจนร่างกายซูบผอม ความทุกข์ทรมานที่แบกรับมาทั้งชีวิตจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังส่งผลให้พังยายคำแพงมีปัญหาหลัง รวมทั้งได้รับความเจ็บปวดบริเวณขาและเท้า และตาบอดข้างขวา

ชะตากรรมชีวิตอันโหดร้ายของพังยายคำแพงเหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะหากเราไม่ไถ่ชีวิตยายคำแพง ยายอาจจะถูกส่งกลับบุรีรัมย์และเป็นช้างแร่รอน หรือถูกทำงานแบกนักท่องเที่ยวจนสินลมหายใจ เรื่องราวของยายคำแพงสะทอนถึงช้างไทยหลายต่อหลายเชือกในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องทุกข์ทรมาณ จนกระทั้งทำงานไม่ไหวแล้ว จริงๆ แล้วช้างไทยสามารถทำงานให้ได้แต่มีวิธีดูแลช้างที่ดีกว่านี้ ที่เป็นมิตรต่อช้าง อย่างเช่นการปรับแนวธุรกิจให้เป็นแนวอณุรักษ์ช้าง เพียงแค่ดูยายแกว่งหัวไปมาก็รู้แล้วว่ายายคำแพงนั้นเจ็บปวดทรมาณมาก เพราะพฤติกรรมนี้คือโรคเครียดในสัตว์ที่ถูกจับขังกรง ส่งผลต่อพฤติกรรม-สมองที่เรียกกันว่า Zoochosis (ซู-โค-ซิส)